วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน




รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Causal Relationship Model of the Desirable Competencies’ Secondary
 School Administrators Effecting Educational Management
under the ASEAN Declaration of School

นภัสมน นันทมัจฉา1 ช่อเพชรเบ้าเงิน2และสมบัติคชสิทธิ์3
Napasamon Nanthamatcha1, Chopetch Boutngern2and SombatKotchasit3

1นักศึกษาปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
2Ed.D. (Educational Administration) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
3Ph.D. (Curriculumand Instruction) รองศาสตราจารย์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ3) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Methods Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารระยะที่2 พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และระยะที่3 ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประชากรในการวิจัยคือผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศจำนวน 2,361 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 580 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า1)องค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย10 สมรรถนะเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุดตามลำดับ ได้แก่ สมรรถนะด้านการสื่อสารและการจูงใจ(Communication and Motive)ด้านการมีวิสัยทัศน์ (Vision) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร(Staff-Ability Development) ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์(Analysis and Synthesis) ด้านการทำงานเป็นทีม(Teamwork)  ด้านการพัฒนาตนเอง(Self-Development) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์(Achievement Focus) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี(Language and Technology) และด้านการบริการที่ดี(Good Service)2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่1 สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ส่วนที่2 การบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน ส่วนที่3 เส้นทางการส่งผลของตัวแปรสังเกตได้เป็นรูปแบบสมมุติฐานที่ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ3) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: สมรรถนะที่พึงประสงค์/ ผู้บริหารสถานศึกษา/ การบริหารจัดการการศึกษา/ ปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา

ABSTRACT

This research aimed to 1) study the desirable competencies’ secondary school administrators’ components, 2)develop causal relationship model of the desirable competencies’ secondary school administrators and 3) examine the causal relationship model of the desirable competencies’ secondary school administrators. This study was the mixed method research; for qualitative research methods by using the interviews and focus group discussion and for quantitative research methods by using 5 scale questionnaire and statistical analysis. The population in this study was the secondary school administrator of Department of Basic Education across the country.There were 2,361 and the sample consisted of 580 persons.The research was divided into 3 phases;phase 1 studied the desirable competencies’ secondary school administrators’ components, phase 2 developed causal relationship model of the desirable competencies’ secondary school administrators and phase 3 examined the causal relationship model of the desirable competencies’ secondary school administrators.
The finding showed as followed 1) the desirable competencies’ secondary school administrators consisted of 10 competencies in the following order from the highest were; communication and motive, vision, staff-ability development, analysis and synthesis, teamwork, self-development, achievement focus, transformational leadership, languages and technology usable skill and the lowest was the good service. 2) The developing causal relationship model of the desirable competencies’ secondary school administrators effecting educational management under the ASEAN declaration of school was composed of 3 parts; they are the desirable competencies, the educational management under the ASEAN declaration and the effecting paths of observed variables.  3) The developing causal relationship model of the desirable competencies school administrators effecting educational management under the ASEAN declaration of school was appropriated consistent and accordance of empirical data.

Keywords:Desirable Competency /School Administrator/ Educational Management/ ASEAN Declaration of School


บทนำ

การศึกษาของเยาวชนไทยในยุคการเป็นประชาคมอาเซียน ส่งผลกระทบต่อผู้บริหารการศึกษาบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปีพ.ศ. 2558 จะส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาไทย มาตรฐานในการจัดการการศึกษามีความสัมพันธ์กับผู้บริหารสถานศึกษาและสมรรถนะ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการการศึกษาให้สอดคล้องกับแม่บท เหมาะสมกับบริบทจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศเป็นหนึ่งประชาคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มาตรฐานการศึกษาและอื่นๆ การพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้สามารถอยู่ในสังคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพจึงเป็นความท้าทายของการบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน ผู้วิจัยนำเสนอที่มาและความสำคัญของปัญหาออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลให้สถานศึกษามีคุณภาพ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งคือสมรรถนะของผู้บริหาร การมีเป้าหมายทางวิชาการชัดเจน การบริหารจัดการการศึกษาในภารกิจ 4 หลักตามพระราชบัญญัติในการบริหารสถานศึกษาขอบข่ายในการบริหารงาน ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป การบริหารกลยุทธ์เป็นหัวใจของงานบริหาร (ขัตติยา ด้วงสำราญ. 2552) ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสถานศึกษาขึ้นอยู่กับผลงานของผู้บริหาร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Lachawanich. 1985) ผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการการศึกษา อนันต์ พันนึก(2554) ได้กล่าวไว้ว่าผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและผู้บริหารที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จ (Critical Success Factors) ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนสมรรถนะสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามีดังนี้ ความสามารถในการคิดเชิงยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างภาวะผู้นำการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาความสามารถในการสื่อสาร การพัฒนากำลังคน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ
 การพัฒนาผู้บริหารให้มีคุณภาพ มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาองค์การให้ยั่งยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารคือต้นทุนสำคัญขององค์การในการทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และตอบสนองต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา (อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์.2550) จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารในการเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์เพื่อนำพาองค์การให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ตั้งไว้ได้ และสามารถพัฒนากระบวนการบริหารจัดการของสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนในการพัฒนาการจัดการการศึกษาให้มีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีมาตรฐาน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.2553)
2. ด้านการบริหารจัดการการศึกษา ผู้นำสถานศึกษาได้รับบทบาทที่สำคัญในการทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ งานวิจัยที่มากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของผู้นำสถานศึกษา (Cisneros-Cohernour E.& Merchant.2005) การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างมากสำหรับการวางรากฐานที่แข็งแรงของการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศ และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) ซึ่งสอดคล้องกับภาวะแห่งการแข่งขันเมื่อประเทศไทยเปิดประตูสู่อาเซียนอย่างเป็นทางการใน ปีพ.ศ.2558 จากการแข่งขันบนเวทีระดับนานาชาติของเด็กไทยข้อมูลสำนักเลขาธิการแห่งชาติ พ.ศ.2553 ประเทศไทยในภาพรวมด้านการศึกษา พ.ศ.2552 บนเวทีสากล โดยการจัดอันดับของ Institute for Management Development (IMD) ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547-2552 พบว่าสมรรถนะภาพรวมของเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาผลการประเมินพบว่า สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7,985 แห่ง ได้รับการรับรอง 5,690 แห่ง และไม่ได้รับการรับรอง 2,295 แห่ง ซึ่งเหตุผลที่ทำให้สถานศึกษาเหล่านี้ไม่ได้รับรองมาตรฐาน เนื่องจาก ไม่ผ่านการประเมินในตัวบ่งชี้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (ผู้จัดการออนไลน์.2556)
3.ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา จากการเปรียบเทียบผลการประเมินรอบสามกับผลการประเมินรอบสอง และรอบแรก ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2542-2558 พบว่า สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมทุกสังกัด มีสถานศึกษาที่ไม่มีพัฒนาการ หรือคะแนนประเมินลดลง คิดเป็น 62.24 พัฒนาการคงที่คิดเป็นร้อยละ 27.03 และมีพัฒนาการดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ 10.73 และยังพบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกว่า 2,000 แห่ง ไม่ได้รับรองมาตรฐาน (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. 2556) และจากผลการประเมินระดับนานาชาติ ของ Program for International Student Assessment: PISAประจำปี ค.ศ.2012 สรุปในภาพรวมได้ว่าคุณภาพการศึกษาไทยยังห่างไกลจากความเป็นเลิศ เมื่อเทียบกับประเทศเอเชียตะวันออก และเนื่องจากการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการอุดมศึกษาและตลาดแรงงาน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดแนวทางและให้ความสำคัญกับมาตรฐานการปฏิบัติงานสถานศึกษามัธยมศึกษา โดยมุ่งหวังให้สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาให้มีคุณภาพสูงสุด และสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ (สํานักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2552) การบริหารจัดการการศึกษาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่มาตรฐานการศึกษาในขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งความหวังว่านักเรียนทุกคนจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพ ผู้บริหารทุกคนจึงต้องมีคุณภาพ บริหารอย่างเป็นระบบและเป็นผู้นำทางวิชาการบริหารจัดการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับความสำเร็จในด้านการศึกษาของเยาวชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552)
4. ด้านการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2558 ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับสังคมของประเทศอื่น 10 ประเทศ การเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษา (สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา. 2554) การศึกษาไทยในยุคประชาคมอาเซียนต้องครอบคลุมในส่วนต่างๆที่ระบุไว้ในกรอบปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา ได้แก่ ความรู้ด้านภาษา การเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะของแรงงาน การพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงการปรับทัศนคติให้คนไทยเข้าใจและอยู่ร่วมกับคนจากหลากหลายวัฒนธรรมได้ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของประชาชนคนไทยเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาต้องวิเคราะห์หลักสูตรปัจจุบัน และปรับโดยเล็งเห็นถึงความต้องการของประเทศในอนาคต เพื่อประสิทธิผลของเยาวชนไทยในการดำรงอยู่ในสังคมอาเซียนกับเพื่อนบ้านทั้ง 10 ประเทศได้อย่างเป็นสุข การพัฒนาด้านภาษาเป็นเรื่องแรกที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของอาเซียน ประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษมากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (ชัชรพล เพ็ญโฉม. 2555)
จากที่มาและความสำคัญของปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่าการเปิดประตูสู่อาเซียน ใน พ.ศ. 2558 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้การพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ที่ได้จากผลการวิจัยนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในบริบทการบริหารจัดการในกรอบปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน
2. เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน
3.เพื่อตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน


 ภาพที่1กรอบแนวคิดในการวิจัย

การวิจัยเรื่องสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน ผู้วิจัยได้ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดองค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของต่างประเทศ พ.ศ. 2547-2552 สำนักงานบริหารงานบุคคลของประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2550สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2548สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ.2554สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2548และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนการบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนผู้วิจัยนำขอบเขตของแนวคิดข้อตกลงบทบาทของภาคการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนมาจัดกลุ่มลักษณะงานให้ตรงกับขอบข่ายภาระงานการบริหารจัดการการศึกษา 4 ด้าน ประกอบด้วยการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานบริหารทั่วไป ตามข้อสรุปจากการสนทนากลุ่ม

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3ระยะดังนี้
ระยะที่1ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ผู้วิจัยวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำไปสร้างแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษาด้านนโยบาย นักวิชาการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาได้องค์ประกอบของสมรรถนะที่พึงประสงค์10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์(Achievement Focus) 2) การบริการที่ดี (GoodService)3)การพัฒนาตนเอง(Self-Development) 4)การทำงานเป็นทีม(Teamwork) 5) การวิเคราะห์และสังเคราะห์(Analysis and Synthesis) 6) การสื่อสารและการจูงใจ(Communication and Motive) 7)การพัฒนาศักยภาพบุคลากร(Staff-Ability Development) 8) การมีวิสัยทัศน์ (Vision) 9)ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) และ 10) การใช้ภาษาและเทคโนโลยี(Languageand Technology Using Skill)นำข้อมูลที่ได้มาสร้างรูปแบบสมมุติฐาน
ระยะที่2 พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผู้วิจัยตรวจสอบความสอดคล้องและความเป็นไปได้ของรูปแบบสมมุติฐาน นำข้อมูลจากการวิจัยระยะที่1มายกร่างรูปแบบสมมติฐาน และจัดสนทนากลุ่ม(Focus Group)ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษาด้านนโยบาย นักวิชาการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหานำไปปรับรูปแบบตามข้อสรุปจากการสนทนากลุ่มและประเมินรูปแบบสมมติฐานของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยการอภิปราย ได้รูปแบบสมมุติฐาน
ระยะที่3 ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับจากกรอบแนวคิดในการวิจัยและนิยามศัพท์เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่1 คำถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) จำนวน 4 ข้อตอนที่2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 10องค์ประกอบในการประเมินจำนวน 75 ข้อเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า(Rating Scale)5 ระดับตอนที่3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามกรอบปฏิญญาอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 65 ข้อประกอบด้วย การบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน 4ด้านคือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณการบริหารงานบุคคลและการบริหารจัดการทั่วไป มี 19 องค์ประกอบเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยสถิติ ดังต่อไปนี้ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)ตรวจสอบโดยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ6 ท่าน นำผลไปหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความเหมาะสมถูกต้องก่อนที่จะนำไปทดลองใช้(Tryout)กับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เลือกข้อที่มีค่าอำนาจจำแนก0.20มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามมีทั้งฉบับอยู่ระหว่าง .32-.85 และการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเลือกข้อที่มีค่าความเชื่อมั่น0.70ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างต่อจำนวนหน่วยพารามิเตอร์ในสัดส่วน 1ต่อ 20 ตัวอย่าง (Lindeman, Merenda and Gold. 1980 อ้างอิงมาจากนงลักษณ์ วิรัชชัย.2542)ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 580 ตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Random Sampling) แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา 482 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.10วิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้1) ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2) ตรวจสอบองค์ประกอบ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบยืนยัน (Confirmatory FactorAnalysis : CFA) และตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างและสมมติฐานการวิจัยเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อยืนยันว่ารูปแบบสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของสมการโครงสร้าง(Structural Equation Model Analysis: SEM)และประเมินผลความถูกต้องของรูปแบบกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวม (Overall Goodness of Fit) และส่วนประกอบที่สำคัญของรูปแบบความสัมพันธ์ (Factor Goodness of Fit)และ 3)ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ (Validation of theModel)จากสถิติวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of fit Measures)โดยพิจารณาจากค่าสถิติไคสแควร์(Chi–Square)ค่าองศาอิสระ(df)ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) และค่านัยสำคัญทางสถิติP-value(p=.001)ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป AMOS

สรุปผลการวิจัย

ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 62.9 ส่วนใหญ่มีอายุ 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.3 มีการศึกษาระดับปริญญาโทมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 89.8 และส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามากกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.2
1. องค์ประกอบของสมรรถนะที่พึงปะสงค์ประกอบด้วยสมรรถนะทั้งหมด10 องค์ประกอบสมรรถนะที่มีค่าน้ำหนักการส่งผลสูงสุดคือ สมรรถนะด้านการสื่อสารและการจูงใจและน้อยที่สุด คือสมรรถนะการบริการที่ดีดังตารางที่ 1

ตารางที่1 แสดงสมรรถนะที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ
ตามลำดับ

ลำดับ
สมรรถนะด้าน


S.D.
1
การสื่อสารและการจูงใจ
4.74
0.26
2
การมีวิสัยทัศน์
4.69
0.27
3
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
4.68
0.29
4
การวิเคราะห์และสังเคราะห์
4.64
0.36
5
การทำงานเป็นทีม
4.59
0.32
6
การพัฒนาตนเอง
4.54
0.33
7
การมุ่งผลสัมฤทธิ์
4.53
0.24
8
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
4.51
0.23
9
การใช้ภาษาและเทคโนโลยี
4.40
0.36
10
การบริการที่ดี
4.35
0.25

2.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น คือโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่1 สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนที่2 การบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน และส่วนที่3เส้นทางการส่งผลของตัวแปรสังเกตได้
3.สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์และส่งผลทางตรงต่อการบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.859 และสามารถพยากรณ์ การบริหารจัดการศึกษาได้ร้อยละ 86(r2 =0.86)รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไคสแควร์( =916.785) ค่าองศาอิสระ(df=332) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน(GFI=0.930) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(AGFI=0.915) และดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA=0.029)มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้




ภาพที่ 2 แสดงรูปแบบผลการวิเคราะห์

อภิปรายผลการวิจัย

1.ผลการวิจัยที่ค้นพบเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 องค์ประกอบของสมรรถนะที่พึงประสงค์ประกอบด้วย10 องค์ประกอบตามสมมติฐานองค์ประกอบมีความสอดกับการสังเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา(US-CAN Sch-Admin) ระหว่าง พ.ศ.2547-2552 การกำหนดสมรรถนะของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2548 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552) คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ. พ.ศ. 2546-ก.ค.ศ. 2548)ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบุคลากรทางการศึกษา และสอดคล้องกับแนวคิดของสเปนเซอร์ และ สเปนเซอร์(Spencer & Spencer.1993) รวมทั้งแนวคิดของ ฮิวส์ กินเนท และเคอร์ฟี่ (Hughes, Ginnett and Curphy. 2002)
2.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยคือโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารจัดการการศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน และโครงสร้างเส้นทางการส่งผลของตัวแปรสังเกตได้รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Causal Model) เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ร่วมกับหลักการสร้างรูปแบบเชิงข้อความ ทำให้สามารถศึกษารูปแบบเชิงข้อความที่มีตัวแปรซับซ้อนได้ โดยอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรืองานวิจัยที่มีมาแล้ว นำมาแสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปร เพื่อให้ได้รูปแบบในลักษณะสมการเส้นตรง ซึ่งสามารถทดสอบได้
3.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมในการบริหารจัดการการศึกษาในบริบทของการเป็นประชาคมอาเซียน ให้ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี เนื่องมาจากรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้ได้ผ่านกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและเส้นทางการส่งผล ของตัวแปรเหตุ ได้นำเสนอแนวคิดในการประเมินรูปแบบโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoiseurship Model) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่แตกต่างจากการประเมินในเชิงปริมาณ เพราะในการศึกษาบางเรื่องนั้นมีความละเอียดอ่อนเกินกว่าที่จะใช้ตัวเลขมาพิจารณาตัดสิน ดังนั้นจึงมีการนำเสนอแนวทางการประเมินรูปแบบโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิการตรวจสอบยืนยันรูปแบบ พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาเห็นด้วยในระดับมากถึงมากที่สุด รวมทั้งมีการวางเส้นทางการพัฒนาของรูปแบบที่เป็นระบบ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ เรชาชูสุวรรณ (2550)สิร์รานีวสุภัทร (2551)ชวนพิศ สิทธิ์ธาดา (2552)และสถาบันการจัดการแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand Institute Of Management.2005) พบว่าสมรรถนะของผู้บริหารมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อประสิทธิผลขององค์กรส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเห็นด้วยกับความสำคัญของสมรรถนะกับผลการบริหารองค์การสรุปได้ว่ารูปแบบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารที่ได้จากการวิจัยเป็นรูปแบบที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
1. กระทรวงศึกษาธิการควรนำผลการวิจัย ด้านองค์ประกอบของสมรรถนะที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่มีความแตกต่างจากสมรรถนะเดิมที่ใช้อยู่ คือสมรรถนะด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยีไปกำหนดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งและนำไปกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดในบริบทการเป็นประชาคมอาเซียน
2. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรนำผลการวิจัยด้านองค์ประกอบของสมรรถนะที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สมรรถนะด้านการสื่อสารและการจูงใจ สมรรถนะด้านการมีวิสัยทัศน์และสมรรถนะด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมาวางแผนการอบรมเพื่อพัฒนาผู้บริหารอย่างเร่งด่วนและทั่วถึง
3. ควรนำรูปแบบสมรรถนะที่พึงประสงค์จากผลการวิจัย ที่ประกอบด้วย 10 สมรรถนะ และด้วยบริบทการเป็นประชาคมอาเซียน สมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี ควรได้นำไปเป็นข้อกำหนดในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารของสถานศึกษาทุกระดับและควรมีการวัดและประเมินด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีอย่างจริงจัง

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาใน 3 ลำดับแรก ได้แก่ สมรรถนะด้านการสื่อสารและการจูงใจสมรรถนะด้านการมีวิสัยทัศน์และสมรรถนะด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในบริบทการเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเร่งด่วน
2. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทการเป็นประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งการเป็นประชาคมอาเซียนและควรทำกับผู้บริหารสถานศึกษาระดับอื่นด้วย

เอกสารอ้างอิง

ASEAN Secretariat, Jakarta. (2011). ASEAN highlights 2011.Bangkok:PageMaker.
สำนักเลขาธิการอาเซียน จาการ์ตา. (2554). อาเซียนไฮไลท์ 2011. กรุงเทพฯ: เพจเมคเกอร์.
Cisneros-Cohernour, E., Y Merchant, B. (2005).January. “The Mexican High School Principal:Impact of the National and Local Culture in the Principalship,Urbana-Champaign, IL: University of Illinois Press.
Chooseuwan, Recha, (2007).A Causal relationship Model of Personal Competency Effecting Effectiveness of Educational Service Area Office in Three Southern Border Provinces.Doctoral Thesis, Graduate School, Prince of Songkla University.
เรชา ชูสุวรรณ.(2550).รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Duangsamran, Khattlya. (2009). A Model of the Strategic Management for Small Schools.Doctoral Dissertation, Graduate School, Silpakorn University.
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สาหรับโรงเรียนขนาดเล็ก.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Hughes, G. and Curphy.(2002). LEADERSHIP: Enhancing the Lesson of Experience.New York: McGraw-Hill.
Lachawanich, T. (1985).“Factors Affecting the Success or Failure of the Community School for Primary Education in Thailand,1972-1983.”Michigan: University Microfilms, Inc.
Manager Online.(2013).“Educational Quality Assessment.”[Online],Available;http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9550000085777[December 2556]
ผู้จัดการออนไลน์.(2556). ประเมินคุณภาพการศึกษา.”[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก;http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9550000085777.[ธันวาคม, 2556].
Ministry of Education.(2008). “Core Curriculum for Basic Education.”Bangkok:Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์.
New Zealand Institute of Management.(2005). “Competency Model: A Review of Literature and the roll of the Employment and Training Administration (ETA),” [Online], Available;http://wdr.doleta.gov/research/ FullText_Documents/Competency_20Models. [December 2013].
Office of the Basic Education.(2009). Strategic plan to enhance the quality of Secondary Education: Office of Education School District 4.Bangkok: Vision Prepress.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552).  แผนยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษามัธยมศึกษา.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4.กรุงเทพฯ:วิชั่นพรีเพรส.
Office for National Education Standards and Quality Assessment.(2013). “External Quality Assessment 3rd (2011-2015)[Online], Available;http://www.onesqa.or.th/  onesqa/th/contact/index.php. [December, 2556].
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558).” [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก;http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/contact/index.php.[ธันวาคม 2556].
Office of the Education Council.(2010). Education Reform Proposals in The Second Decade. (2009-2018).Bangkok: Prick whan Graphics.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553).ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Office of the Teacher Civil Service and Educational PersonnelCommission.(2005). “Teacher Civil Service and Educational Personnel Act,”  Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548).หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Penchom, Chatchapol.(2012). Meet AEC: How's Thailand Education prepared to do with the change.[Online],Available :http://www.tcdcconnect.com/content/Know-What/183-thai-education-aec. [February2556].
ชัชรพล เพ็ญโฉม. (2555).ตอบโจทย์ AEC: การศึกษาไทยเตรียมพร้อมอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลง.[ออนไลน์],เข้าถึงได้จาก; http://www.tcdcconnect.com/content/Know-What/183-thai-educat  ion-aec.[กุมภาพันธ์ 2556].
Phannuek, Anan. (2011). “Research and Development of Program for Developing the Basic School Administrators’Competency,Doctoral
Thesis, Graduate School, KhonKaen University.
อนันต์ พันนึก. (2554).การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Poowitayaphan, Arporn. (2007). Career Development in Practice. 3rd edition, Bangkok: HR Center.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2550). “Career Development in Practice,พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ: เอชอาร์ เซ็นเตอร์.
Siththada, Chaunpit. (2009). Competency Mode; of Effective school administrators in Basic Education Schools.DoctoralDissertation, Graduate School, Silpakorn University (inThai).
ชวนพิศ สิทธิ์ธาดา. (2552).รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.
Spencer, L. M. & Spencer, S.M. (1993). “Competency at Work:Models for Superior Performance.”  New York: John Wiley & Son.
Upper Secondary Education Bureau.(2009). Goal of Achievement and quality criteria improving the quality of secondary education in the Alliance province and the province.Bangkok:Office of the Basic Education.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2552). เป้าหมายความสำเร็จและเกณฑ์คุณภาพ การพัฒนาคุณภาพการศึกษามัธยมศึกษาของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด.กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Wiratchai, Nonglak. (1999). “Model LISREL statistical analysis for research.” 3rdedition.Bangkok:Chulalongkorn University.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย,พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Wasupatara, Siranee. (2008). Instructional Leadership and Competency of Principal Affecting the Success of School-Based Management.Doctoral Thesis, Graduate School, Kasetsart University.
สิร์รานี วสุภัทร.(2551). ภาวะผู้นำทางวิชาการและสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.






 [J1]เพิ่มเติมคำอธิบายอักษรย่อในภาพ